✍🏼 ทุกอย่าง vs. บางอย่าง
บทสนทนาระหว่างอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียนของผมเมื่อนานมาแล้วให้แนวคิดที่ดีมากในการทำโปรดักท์ หน้าที่ของเราไม่ใช่ตามใจคนทุกคนแต่เลือกที่จะทำอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคนบางคน
บทสนทนาระหว่างอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียนของผมเมื่อนานมาแล้วให้แนวคิดที่ดีมากในการทำโปรดักท์ หน้าที่ของเราไม่ใช่ตามใจคนทุกคนแต่เลือกที่จะทำอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคนบางคน
การเริ่มต้นซอฟต์แวร์ทุกตัวน่าสนใจที่เป้าหมายแรก จะเรียกว่าไมล์สโตนแรกก็ได้ บางคนอยากเห็นงานคุณภาพสูง บางคนสนใจแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบละเอียด … ไม่ใช่พวกนี้เลยที่เราต้องการ โปรโตไทป์ต่างหากที่ควรเป็นเป้าหมายแรกของเรา
คนทำโปรดักท์มีอำนาจอยู่ในมือ (อาจจะไม่รู้ตัว) อำนาจที่เราจะเลือกได้ว่าเราอยากทำอะไรออกมาให้โลกใบนี้ ว่ามันจะเป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นที่ 10 ของเรื่องเดิมที่น่าเบื่อหรือว่าจะเป็นเวอร์ชั่นแรกของเรื่องใหม่
อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ชี้วัดว่า “นี่คือซอฟต์แวร์ที่ดี”? … คำถามที่ตอบไม่ยาก ซอฟต์แวร์ที่ดีคือซอฟต์แวร์ที่มีคนใช้ คำตอบที่ง่ายแต่ทำจริงๆยากไม่ใช่เล่น
ลองดูวิดีโอที่เล่าเรื่องเบื้องหลังการสร้างเฟสบุ๊ก แพลตฟอร์มแล้วได้แรงบันดาลใจดีมากครับ คิดเร็ว ทำเร็ว รับฟัง มีอำนาจตัดสินใจ ประหยัด และสร้างอิมแพค
ถ้ามีคนบอกว่า “ขยายฟ้อนท์ให้หน่อย” เราจะมองว่ามันคือความต้องการ (Requirement) หรือความต้องการ (Need)? การทำซอฟต์แวร์ที่ดีไม่ใช่การขยายขนาดฟ้อนท์แต่มันคือการแก้ปัญหาที่ว่า “รายงานตอนนี้อ่านยาก” มากกว่า
กลยุทธ์การพัฒนาโปรดักท์แบบบนลงล่างคือแนวทางที่ถูกต้อง บนคือภาพใหญ่ ล่างคือรายละเอียด การโฟกัสที่แบ็กล็อกคือการลืมภาพใหญ่ ลืมวิชชั่นที่ตั้งไว้ … อย่าทำแบบล่างขึ้นบน
ซอฟต์แวร์ที่เก็บสะสมหนี้ไว้มากๆจะพังครืนลงมาในไม่ช้า หนี้เกิดจากการตัดสินใจเพื่อผลระยะสั้นโดยคนที่ไม่เข้าใจภาพรวมเพื่อเอาใจคนที่ไม่สำคัญ … ไม่มีอะไรได้มาฟรี ทุกอย่างมันมาพร้อมต้นทุนเสมอ ตอนนี้เลขในบัญชีเราเป็นบวกหรือลบ?