ทั้งสองเรื่องต้องไปด้วยกันได้ถ้าเราอยากสร้างธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ยั่งยืน ในช่วงเริ่มต้นเราต้องคิดถึงเกี่ยวกับปัญหาที่เราต้องการแก้ กลุ่มตลาดที่เราต้องการให้บริการ เมื่อไรที่เราควรรีลีสโปรดักท์เวอร์ชั่นแรก เราควรคิดราคาเท่าไร ใครที่เราอยากชักชวนให้มาร่วมงานด้วย และใครที่เราอยากเชิญมาลงทุนในบริษัทของเรา
👩🏼💼 เราต้องคิดเชิงกลยุทธ์
ในอีกด้านหนึ่งเราต้องคิดและวางแผนว่าอยากจะสร้างโปรดักท์ขึ้นมาอย่างไร เทคโนโลยีอะไรที่เราจะใช้ เทรนด์ไหนที่เราต้องศึกษาและทดลอง เครื่องไม้เครื่องมือชุดไหนที่เราควรเลือก กระบวนการทำงานแบบไหนที่เราจะใช้เป็นหลักยึด ใครต้องทำอะไร และอนาคตแบบไหนที่เรามองเห็น
เราต้องคิดในเชิงเทคนิค
ทั้งสองด้านสำคัญเท่ากัน เมื่อเราเรียนรู้ความเป็นไปของตลาดมากขึ้นและเราเห็นโอกาส เราต้องถามว่าโอกาสกันมันเหมาะกับเราทางเทคนิคหรือไม่ เมื่อเราได้รู้และได้ยินถึงเทคโนโลยีใหม่เราก็ต้องประเมินดูว่ามันเหมาะกับเราในทางกลยุทธ์มากน้อยแค่ไหน
เพราะสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการคือการรับงานทุกอย่างไล่ตามทุกโอกาสที่ผ่านเข้ามาจนเรากลายเป็นบริษัทบางๆที่หาจุดแข็งอย่างแท้จริงไม่ได้ เราต้องปรับตำแหน่งของตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้ให้บริการในหลายตลาดและหลายกลุ่มลูกค้าผู้ซึ่งไม่เคยมีความต้องการที่เหมือนกัน เราต้องปรับแก้แนวทางทางเทคนิคหลายครั้งหลายคราเพื่อจัดการกับความต้องการเหล่านั้น ผลที่ตามมาก็คือเราจะสร้างและสะสมหนี้ทางเทคนิคกองใหญ่เกินจะบริหารจัดการได้ เราหยิบจับทุกเทคโนโลยีอย่างผิวเผิน เราเรียนรู้ทุกเทรนด์แบบคร่าวๆและฉาบฉวย เราทดลองทุกส่วนผสมของพวกมันอย่างต่อเนื่อง
เรารู้ทุกอย่างแต่ไม่เชี่ยวชาญสักอย่างเดียว เราแก้ปัญหาได้ทุกเรื่องแต่ทำได้ดีที่สุดไม่ได้สักเรื่อง เราให้บริการได้ทุกตลาดแต่ไม่มีประสิทธิภาพสูงสุดแม้แต่ตลาดเดียว เราผลักให้บริษัทอยู่ในความเสี่ยง มันคือความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่มากทั้งในด้านกลยุทธ์และด้านเทคนิค
โอกาสเกิดมาและผ่านไป เราไม่เคยหมดโอกาสถ้าเรายังพยายามจะมองหามัน ประเด็นก็คือเรามีความสามารถแค่ไหนที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่านี่คือโอกาสที่ดีเพียงโอกาสเดียวจากทั้งหมดหนึ่งร้อยตัวเลือกที่เรามีในตอนนี้
อย่ารีบร้อน คิดให้ถี่ถ้วนอย่างกล้าหาญว่าถ้ามันคือสิ่งที่ดีกับทั้งทางกลยุทธ์ แล้วทางเทคนิคหละ … มันยังดูดีอยู่มั้ย?