✍🏼 บิสสิเนสอะนาลิสต์กับโปรดักท์เมเนเจอร์

ระหว่างบิสซิเนส อะนาลิสและโปรดักท์ โอนเนอร์ … ฉันเป็นใครกันแน่?

บางคนอาจจะคิดว่าสองคนนี้ทำงานในเรื่องเดียวกัน ใช้ทักษะใกล้เคียงกัน ดังนั้นมันก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรที่ต้องตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเอง

ผิด!!!

เพราะสองคนนี้แตกต่างกันราวฟ้ากันดินเมื่อมองถึงรากฐานที่แท้จริงของเป้าหมายในการทำงาน … ขอยกกรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริง

ผู้ใช้ — “เอ่อ ถ้าผมขอให้ใส่โลโก้ของบริษัทที่หน้าล๊อกอินได้มั้ยครับ?”

บิสซิเนส อะนาลิส — “ทางเทคนิคทำได้ครับ แต่ผมต้องขอดูขนาดของโลโก้ที่ว่านั่นก่อนนะครับ อยากให้เป็นไฟล์ .jpg ขนาดไม่เกิน 128 x 128 พิกเซลครับ โลโก้นี้จะใช้ไปยาวๆเลยมั้ยครับ มีโอกาสมั้ยว่าในอนาคตจะเปลี่ยนรูป ถ้าเป็นแบบนั้นก็ต้องเตรียมฟังก์ชั่นอัพโหลดไว้ให้ด้วยที่หน้าเซตติ้งครับ ถ้าพี่อยากได้จริงๆเดี๋ยวผมต้องกลับไปเตรียมสเปคละเอียดมาให้รีวิวแล้วค่อยมาดูกันว่าจะเริ่มทำเมื่อไร อย่างเร็วอาจจะต้นเดือนหน้า”

โปรดักท์ โอนเนอร์ — “ทางเทคนิคทำได้ แต่มันยังไม่ใช่ฟังก์ชั่นสำคัญของซอฟต์แวร์ตอนนี้ครับ”

สังเกตเห็นความแตกต่างมั้ย? มันเป็นเรื่องของบทบาทหน้าที่ครับ มันเป็นเรื่องของความเป็นเจ้าของในโปรดักท์และมันอยู่ที่ว่าใครเป็นคนสร้างวิสัยทัศน์และวางแนวทางของโปรดักท์

ในกรณีบิสซิเนส อะนาลิส คำตอบต้องเป็นแบบนั้นเพราะเค้าไม่ได้มีหน้าที่กำหนดความเป็นไปของโปรดักท์ เค้ามีหน้าที่วิเคราะห์ออกแบบและตอบสนองความต้องการของเจ้าของโปรดักท์ตัวจริง — ลูกค้า ผู้ใช้ คนจ่ายเงิน หัวหน้า เจ้านาย อื่นๆ

การตอบปฏิเสธเป็นเรื่องยากสำหรับเค้า

ในกรณีโปรดักท์ โอนเนอร์ คำตอบจะออกมาในรูปแบบนั้นเป็นส่วนใหญ่เพราะเค้าคือโปรดักท์ เค้าเป็นเจ้าของโปรดักท์ เค้าเป็นคนกำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางระยะสั้นระยะยาวทั้งหมด เค้ามีหน้าที่ทำให้จินตนาการของเค้านั้นเป็นความจริงออกมาได้ เค้าทำงานเพื่อสนองตัณหาของตัวเอง ไม่ใช่ลูกค้า ผู้ใช้ คนจ่ายเงิน หัวหน้า เจ้านาย อื่นๆ

การตอบปฏิเสธจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับเค้า … ถ้าสิ่งที่ถูกร้องขอมาไม่ได้เป็นไปตามสิ่งที่เค้าคิดไว้ในใจ


สองคนนี้ไม่ได้มีใครสำคัญกว่าใคร มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์บวกกับคุณลักษณะโครงสร้างของงานและทีม

สองคนนี้ทำงานร่วมกันได้ คนนึงลงรายละเอียดด้านเทคนิค คนนึงเป็นคนดูแลควบคุมให้โปรดักท์ถูกสร้างไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แต่สองคนนี้จะเป็นคนคนเดียวกันนะหรอ? … ผมคิดว่าไม่นะเพราะมันขัดกันที่รากฐานของเป้าหมาย และการทำงานแบบควบสองและก้ำๆกึ่งๆมันจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

รู้แบบนี้แล้วระหว่างบิสซิเนส อะนาลิสและโปรดักท์ โอนเนอร์ … ฉันเลือกที่จะเป็นใครกันแน่?

1 thought on “✍🏼 บิสสิเนสอะนาลิสต์กับโปรดักท์เมเนเจอร์”

  1. Pingback: ✍🏼 “ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลยค่ะ” 💭 – ปิโยรส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *