📐 เมื่อมันไม่พอดี

ถ้าชีวิตไม่มีความพอดี … ให้เลือกระหว่าง “วางแผนน้อยไป” (Under-Planning) กับ “วางแผนมากไป” (Over-Planning) เราจะเลือกอะไร?

ถ้าเป็นสมัยเด็กๆ ทำงานใหม่ๆ ทุกอย่างบ่งชี้ว่าการวางแผนยิ่งละเอียดยิ่งดี ยิ่งลึกยิ่งจะทำให้เราทำงานง่ายขึ้น กลายเป็นว่ากว่าจะเริ่มงานได้ผมหมดเวลาไปกับการวางแผนในรายละเอียดทุกจุด ทุกงานย่อย กำหนดระยะเวลาที่ใช้, วันเริ่ม, วันจบอย่างชัดเจนลงไป แต่เมื่อลงมือทำงานจริงมันไม่ใช่ การวางแผนเยอะไม่ได้แปลว่าจะเพิ่มโอกาสที่งานจะสำเร็จ

ทำงานผ่านมาสักพักเริ่มรู้สึกว่าการวางแผนที่น้อยเกินไปก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียหรือเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้งานล้มเหลว … ตอนนี้หลักการที่น่าสนใจในการวางแผนโปรเจกต์นั้นเน้นว่ามันต้องง่าย เร็ว และเริ่มงานจริงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อได้โจทย์มา … คำว่าวางแผนน้อยคือทำแค่ขั้นตอนที่ 1–4

  1. ทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ของมัน — ขั้นตอนนี้เรียกว่า “มันคืออะไร”
  2. กำหนดเป้าหมายใหญ่ๆให้ชัดเจน — ขั้นตอนนี้เรียกว่า “เราต้องการอะไร”
  3. กำหนดกลุ่มงานที่ต้องทำ — ขั้นตอนนี้นี้เรียกว่า “ทำอะไรบ้าง”
  4. จัดลำดับการทำงานก่อนหลัง — ขั้นตอนนี้เรียกว่า “ทำเมื่อไรบ้าง”
  5. ระบุรายละเอียดของทุกกลุ่มงานที่ต้องทำ — ขั้นตอนนี้เรียกว่า “ทำยังไงบ้าง”

ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเพื่อนร่วมงาน แต่ถ้ายิ่งเราไม่ต้องลงรายละเอียดของคำว่า “ทำยังไงบ้าง” ในแต่ละงานย่อยให้ละเอียดมากเท่าไร เราก็มีเวลาได้เริ่มทำงานที่มีคุณค่าเร็วขึ้นเท่านั้น 😇

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *