🧅 คุ้มค่าที่จะทำต่อ?

“มันคุ้มค่าที่จะทำมั้ย?” — ไม่ได้พูดถึงแค่การลงทุนที่คิดเป็นตัวเงิน การซื้อหุ้นแบบหมดหน้าตัก หรือการเลือกทำธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่ง

การตอบคำถามข้างบนได้นั้นมันขึ้นกับปัจจัยสองด้านเสมอ … เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) เช่น จากการวิเคราะห์ทุกมุมมองในเชิงปริมาณ นี่คือคนที่เราควรเลือกเป็นพาร์ทเนอร์มากที่สุด ทั้งสถานะความมั่นคงของบริษัท ความเข้มแข็งของโปรดักท์ ความเป็นมืออาชีพของพนักงาน ความเฉลียวฉลาดและกล้าได้กล้าเสียของทีมผู้บริหาร แต่ไม่ว่าตัวเลขจะออกมาดูดีน่าดึงดูดแค่ไหนก็ตาม ก่อนจรดปากกาลงนามสัญญาอะไร เราต้องถามตัวเองก่อนอยู่แล้วว่า

“เอาจริงๆเลยนะ นี่มันถูกต้องใช่มั้ย?” … “เขาคือคนที่เรามองหาอยู่จริงๆหรอ?” … “มันคุ้มค่าที่จะเสี่ยงแน่ๆใช่มั้ย?”

ไม่ว่าตัวเลขจะเป็นอย่างไร … สัญชาตญาณของผู้นำสำคัญเสมอ สำคัญในระดับเดียวกันหรือมากกว่าตัวเลขเหล่านั้นด้วยซ้ำ

ทุกวันนี้มันมีเรื่องให้เราต้องตัดสินใจมากมาย

  • ยูเอ็กซ์คือเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ
  • โปรดักท์ทีมของเราต้องเก่งเรื่องทางเทคนิคด้วย
  • นี่คือกลยุทธ์การกำหนดราคาที่ควรจะเป็น
  • การให้อิสระในการทำงานกับทีมงานอย่างเต็มที่จะช่วยเพิ่มโปรดักทิวิตี้ได้

คนเป็นผู้นำต้องตอบคำถามที่ว่า “พวกมันคุ้มค่าที่จะทำมั้ย?” ทุกวัน — มันคุ้มมั้ยที่จะทำแบบนี้ต่อไป ยูเอ็กซ์มันช่วยเราได้มากแค่ไหน ถึงเวลาที่เราต้องเริ่มคิดถึงทางเลือกอื่นแล้วรึยัง?

เราต้องถามและค้นหาคำตอบพวกนี้ให้กับตัวเองแทบทุกวัน มันยังคุ้มอยู่มั้ย มันยังถูกต้องอยู่ใช่มั้ย เราควรเริ่มต้นอะไรใหม่บ่อยๆและหยุดการทำอะไรเก่าๆอยู่เรื่อยๆ

การตั้งคำถามกับตัวเองอย่างต่อเนื่องในสมองในความคิดและในหัวใจแบบไม่ต้องใช้ข้อมูลและสถิติอะไรดีกว่าการนัดประชุมปีละสองครั้ง

มันเป็นจุดที่เราให้ความสำคัญกับความรู้สึกมากกว่าตัวเลข … ไม่ว่าเรื่องอะไรเราแค่ถามตัวเองว่า “มันยังใช่อยู่มั้ย? มันยังให้ความรู้สึกที่ถูกต้องและเป็นบวกอยู่รึเปล่า?”

ถ้าคำตอบออกมาว่า “ใช่” — ก็แค่นั้น เดินหน้าต่อไป

ถ้าคำตอบออกมาว่า “ไม่ใช่” — ก็แค่นั้น หยุด ยกเลิกและหาสิ่งอื่นมาทดลองต่อไป

หลายครั้งความก้าวหน้าไม่เกิดเพราะการไม่มีแอคชั่น … เพราะการรอคอยข้อมูล เพราะการรอคอยเครื่องพิสูจน์อะไรบางอย่าง เช่น

“ผมไม่เชื่อว่าพาร์ทเนอร์รายนี้เหมาะสมกับบริษัทของเรา” — หัวหน้าทีมประกาศกลางห้องประชุม

“คุณมีตัวเลขหรือสถิติมาสนับสนุนคำพูดของคุณมั้ยครับ?” — ผู้มีอำนาจกำลังสงสัยในข้อสรุปจากสัญชาตญาณของหัวหน้าทีม

เวลาสามเดือนที่หมดไปในการค้นหาหลักฐานคือเวลาแห่งการไม่มีแอคชั่นและนั่นส่งผลกระทบในแง่ร้ายกับการพัฒนาอย่างชัดเจน … จริงๆแล้วเราไม่ต้องการข้อมูลอะไรพวกนั้นเลย … เราขอแค่ใจเป็นกลาง ความตั้งใจดี การยึดถือหลักการที่แน่วแน่ และการกล้าตัดสินใจด้วยความรู้สึกและสัญชาตญาณ

“มันยังคุ้มค่าที่จะทำอยู่มั้ย?” — คือคำถามเชิงคุณภาพที่ผู้นำทุกคนควรตอบได้โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลเชิงปริมาณที่ละเอียดยิบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *