“ถ้าอยากให้ทีมทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว … สมาชิกทุกคนต้องมีความเข้าใจในเนื้องานเป็นอย่างดี”
อืมมม ถ้าแต่ก่อนก็เคยคิดแบบนี้ เรากำลังจะได้ค้นพบความจริงที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งในระยะหลังๆตั้งแต่ทีมงานเริ่มแก้บั๊กไปร้อยกว่าตัว ตั้งแต่เริ่มปั่นงานใหม่ที่ต้องมีเดโม่ให้ผู้ใช้ดูเรื่อยๆ … เราก็อาจจะเริ่มรู้สึกว่าประโยคนั้นใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์
ทำไมในช่วงเวลานั้นงานมันเดินหน้าไปได้รวดเร็ว เห็นผลลัพธ์ออกมารายวัน แก้บั๊กเสร็จวันละสิบตัว เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เล็กๆเข้าไปได้วันละสามสี่ข้อ ทำไม?
มันเป็นเพราะว่างานมันชิ้นเล็ก สโคปชัดเจนมาก และที่สำคัญเป็นเพราะเราทำงานโดยไม่ต้องเข้าใจภาพรวมทุกอย่างของซอร์สโค๊ดทุกไฟล์ … รึเปล่า?
มันคืองานที่จบได้ในตัวเองโดยคนทำงานไม่ต้องการความรู้รอบข้างอะไรมากมาย เช่น การแก้บั๊กที่ยูไอโดยไม่ต้องสนใจว่าเซิร์ฟเวอร์ทำงานยังไง การเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้าไปโดยไม่ต้องคิดมากว่าดาต้าโมเดลถูกสร้างมาจากไหนโดยใครและยังไง หรือการรันเทสที่ไม่ต้องมาเรียนรู้คอนฟิกไฟล์ทั้งโฟลเดอร์
เพราะคนทำงานไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานตรงหน้า (แก้บั๊ก เพิ่มฟีเจอร์ เทส) … พวกเขาจะตัดลดโอเวอร์เฮดลงไปได้มากซึ่งนั่นแปลว่างานจะเสร็จเร็วขึ้นมากเช่นกัน
“ถ้าอยากให้ทีมทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว … สมาชิกทุกคนต้องมีความเข้าใจในเนื้องานตามความเหมาะสม”
นี่น่าจะเป็นประโยคที่เข้ากับสถานการณ์ได้ดีกว่า … ความเร็วเกิดจากความคล่องตัว ความเร็วเกิดจากการทำงานที่ไม่สร้างขยะมากเกินไป
- ทุกคนมีความรู้เพียงพอสำหรับงานที่ต้องทำตอนนี้
- ถ้าไม่รู้ … ก็จะมีคนอื่นที่รู้คอยให้คำแนะนำสั้นๆอยู่
แนวทางของงานแบบเซลฟ์-คอนเทนน์ หรืองานในกล่อง