🫱🏽 วิเคราะห์จนค้าง

ต่อคำถามที่ว่า “เราต้องการคนทุกคนในทีมตั้งแต่เริ่มต้นคิดทำโปรเจกต์หรือไม่?” คำตอบคือ “ไม่และห้าม”

การเริ่มต้นโปรเจกต์ใหม่นั้นง่ายกว่าที่คิดเยอะ ถ้าเราไม่พยายามทำให้มันยากกันไปเอง แค่คนที่รู้เรื่องธุรกิจและมีวิสัยทัศน์นั่งคุยกับคนที่รู้เรื่องเทคนิคและเข้าใจข้อจำกัดของมัน … เราก็จะได้สโคปและเดดไลน์คร่าวๆมาแล้ว ณ จุดนี้เราขอแค่ Product Owner เก่งๆกับ Architect ที่มีประสบการณ์ แล้วสมาชิกคนอื่นๆละ?

  • ดีเวลลอปเปอร์หัวหน้าทีมและลูกทีม
  • เทสเตอร์หัวหน้าทีมและลูกทีม
  • โปรเจกต์เมเนเจอร์

ยังไม่จำเป็นทั้งหมด … หลายคนมักจะยึดติดอยู่กับความเชื่อที่ว่า

“เราต้องการข้อมูลและความคิดเห็นจากคนอื่นให้มากที่สุดเพื่อเราจะได้คิดและวางแผนงานให้รอบคอบ”

คือมันผิดตรงนี้แหละ งานสร้างและพัฒนาสินค้าประเภทซอฟต์แวร์นั้นมันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะคิดได้รอบคอบและถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกต่อให้เรามีความคิดเห็นที่หลากหลายและข้อมูลมหาศาลแค่ไหนก็ตาม นี่คือเหตุผลที่คำตอบคือ “ไม่และห้าม” ความเชื่อผิดๆนี้รังแต่จะทำให้เราเสียเวลาโดยไม่จำเป็นไปกับการคิดวิเคราะห์แต่ไม่ลงมือทำ เคยได้ยินคำว่า Analysis Paralysis (คิดมากเกินจนเป็นอัมพาต) มั้ย? บางทีมใช้เวลาคุยเรื่องโปรเจกต์ใหม่กันสามวันสามคืนไม่จบ บางทีมใช้เวลาสองเดือนเก็บข้อมูลมาทำแผนธุรกิจหนา 100 หน้าที่สุดท้ายไม่มีใครอ่านและต้องโยนทิ้ง บางทีมช่วยกันนั่งคิดฟีเจอร์และเขียนการ์ดติดเต็มบอร์ดแบบงงๆ — ผิด

เมื่อการคิดแต่ไม่ทำเป็นเรื่องไม่ดี งั้นเรามาทำแบบไม่ต้องคิด(มาก)กันดีกว่าเพราะในเมื่อโลกนี้มันวัดกันที่ความเร็ว

  • ความเร็วในการแปลงความคิดมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้
  • ความเร็วในการส่งสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
  • ความเร็วในการเรียนรู้ข้อดีข้อเสียของสินค้าจากการใช้งานจริง
  • ความเร็วในการปรับปรุงสินค้าให้ตอบสนองความต้องการได้ดีขึ้น

แนวคิดของเราจึงไม่ใช่ห้ามผิดแต่ต้องเป็นห้ามช้า — แค่คนที่พอมีประสบการณ์สักสองสามคนก็เพียงพอแล้วที่เราจะเริ่มต้นโปรเจกต์ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *