👁 ตาที่สาม

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มั่นใจ เมื่อคนสองคนถกเถียงกันเรื่องสีเทาที่ไม่มีอะไรผิดทั้งหมดหรือถูกร้อยเปอร์เซ็นต์

  • ไม่ว่าจะมีความเห็นลงรอยกันทั้งสองฝ่าย แบบว่า “ผมคิดว่าแบบนี้ดีนะ / เออ ผมเห็นด้วยหวะ” หรือ
  • มีความเห็นไปคนละทิศละทาง ประเภท “มันก็ใช้ได้แหละ แต่มันก็มาติดปัญหาตรงนี้อยู่ดี / ผมก็เข้าใจคุณนะ แต่มันก็ยังดีกว่าวิธีการแรกปะ?

เมื่อผมเจอเรื่องแบบนี้ — ผมทำอย่างไร?

มองหามุมมองจากบุคคลที่สาม (ถ้าทำได้) … บุคคลที่สามนั้นอาจจะมีปฏิกิริยาแบบนี้

  1. ไม่มีความเห็นอันใด — ผมไม่รู้ หนูไม่อิน 😅 ไม่เป็นไร มองหาคนต่อไป
  2. เห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง — ทำไมเขาถึงเลือกแนวทางที่เขาเลือก เหตุผล สาเหตุ แรงจูงใจ … นั่นคือข้อมูลเพิ่มเติม
  3. ไม่เห็นด้วยกับใครเลยและไม่มีข้อเสนอด้วย — ทำไมเขาถึงไม่เห็นด้วย ปัญหาที่เขาเห็น ความไม่ถูกใจที่เขามี … นั่นคือข้อมูลเพิ่มเติม
  4. ไม่เห็นด้วยกับใครเลยและมีข้อเสนอใหม่มาวางบนโต๊ะ — ดีครับ ออปชั่นจากบุคคลที่สามอาจจะเป็นอะไรที่ผมไม่เคยคิดถึงมาก่อน

อย่าเข้าใจผิดว่าผมมองหาบุคคลที่สามมาให้เป็นคนตัดสินใจ ไม่ใช่นะครับ … อำนาจตัดสินใจยังอยู่ที่ผมกับคู่สนทนาเหมือนเดิม แต่การมีมุมมองใหม่และข้อมูลใหม่จะช่วยให้ผมและคู่สนทนาพิจารณาอะไรให้รอบด้านมากขึ้น อาจจะได้โอกาสลดทิฐิลงบ้าง รีเฟรชสมองกลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

สำคัญอีกประเด็นคือขอแค่บุคคลที่สามพอนะครับ ไม่เอาสี่ ห้า หก … สองหัวดีกว่าหัวเดียวแต่มากคนก็มากความ เป้าหมายของเราคือการตัดสินใจด้วยความรอบคอบที่สุด ไม่ใช่การเสียเวลาไปกับปริมาณข้อมูลและตัวเลือกที่มากเกินไปจนเป็นอัมพาต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *