มันคือเรื่องที่เรารู้ว่าเรารู้ … มันคือทุกอย่างที่อยู่ในโปรเจกต์แพลน — งาน คน ระยะเวลา วันเริ่มต้นและสิ้นสุด สโคป เดดไลน์ เงื่อนไข ข้อจำกัด วัตถุประสงค์ อื่นๆ
รู้ — ไม่รู้
อะไรที่เรารู้ว่าเราไม่รู้ มันเป็นความเสี่ยงประเภทแรก
- เรารู้ว่าเราไม่รู้ความต้องการทั้งหมดของลูกค้า
- เรารู้ว่าความต้องการนั้นจะเปลี่ยนแปลงแต่ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปแบบไหนและเมื่อไร
- เรารู้ว่าลูกค้ารายนี้เรื่องมากและเรายังไม่รู้จะแก้ไขสถานการณ์ยังไง
- เรารู้ว่าเรายังไม่เคยลองใช้ไลบรารี่ตัวใหม่และเราไม่มั่นใจว่ามันจะใช้ได้
ไม่รู้ — ไม่รู้
ความเสี่ยงระดับที่สองซึ่งน่ากลัวกว่า … มันคือสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ หรืออีกมุมหนึ่งคือสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้ … แต่ผิด
- ตอนนี้มีใครกำลังพยายามจะล้มโปรเจกต์นี้อยู่
- ตอนนี้มีใครกำลังทำในสิ่งเดียวกับเราแต่เขาทำได้เร็วกว่า
- โค๊ดบางส่วนที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีอยู่
- มาตรฐานบางอย่างที่ลูกค้าต้องการแต่ไม่เคยพูดถึง … เคพีไอ (KPI) ของระบบ ความต้องการเรื่องความปลอดภัย หรือเอสแอลเอ (SLA) ของการซัพพอร์ต
- ประเด็นเรื่องความเป็นเจ้าของและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการสร้างซอฟต์แวร์ตัวนี้
- การโกงเงิน การฟอกเงิน การละเมิดสิทธิส่วนตัว … หรือการนำซอฟต์แวร์ของเราไปใช้ในทางที่ผิด
มันเหมือนว่า … เราไม่รู้หรอกว่าตัวเราเป็นพาหะนำโรคบางอย่างอยู่รึเปล่าจนกว่าจะได้รับการตรวจอย่างละเอียด
ความเสี่ยงประเภทนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ เป็นเรื่องน่าค้นหา เป็นหน้าที่ของคนที่ทำหน้าที่ดูแลโปรเจกต์ควรต้องให้เวลากับมันมากๆ
เปลี่ยนสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ (Unknown Unknowns) มาเป็นสิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้ (Known Unknowns) ให้เร็วที่สุดก่อนที่มันจะสายไป
นั่นคือหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยสร้างและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับตัวเราได้อีกมาก โปรเจกต์หน้าเราจะมีลิสต์ของสิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้มากขึ้น … มันคือการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ละเอียดรอบคอบมากขึ้น
และความสำเร็จของโปรเจกต์มันก็ขึ้นอยู่กับการใส่ใจรายละเอียดเรื่องความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้นั่นเอง 😇