✍🏼 โปรดักท์กับงานที่ซ่อนอยู่

การสร้างโปรดักท์ที่ขายได้จริงนั้นยากมากครับ 😢 ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะความสับสนกับความหมายที่แท้จริงของคำว่าโปรดักท์

โปรดักท์ควรจะเป็นอะไรที่เราสามารถทำธุรกิจจากมันได้ นั่นแปลว่ามันต้องสเกลได้ มีความเสถียร และประสิทธิภาพที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว ถ้าพูดในเชิงลึกหน่อยก็คือน่าจะมีเทสสคริปท์แบบออโต้เมทอยู่มากพอสมควร ถ้าจำเป็นก็ต้องมีเรื่องการซัพพอร์ตหลายภาษา มีโค๊ดเบสที่ดูแลได้ใช้งานได้ไม่มั่ว ทั้งหมดเพื่อการที่ทีมพัฒนาจะรีลิสอะไรออกมาได้ด้วยความมั่นใจ

มันไม่ง่ายเลยครับ ถ้าจะว่าไปแล้วงานเหล่านี้จะกินเวลาส่วนใหญ่ของทีมเราไปเลยด้วยซ้ำ ไม่ใช่งานทำฟีเจอร์อะไรใหม่ๆ

ถ้าเรายังเป็นสตาร์ทอัพที่ไม่มีลูกค้าและยังไม่มีรายได้ เราเองก็คงยังไม่ต้องปวดหัวเรื่องพวกนี้มากนัก แต่กับคนที่มีลูกค้าเป็นตัวเป็นตนแล้ว มีรายได้แล้ว (นั่นแปลว่าต้องมีความรับผิดชอบสูงขึ้นมาก) เราต้องสนใจเรื่องพวกนี้อย่างหนักเลยครับ

โปรดักท์ เมเนเจอร์ที่ดีต้องสามารถสร้างสมดุลระหว่างงานเบื้องหน้า (ฟีเจอร์) กับงานเบื้องหลัง (โอเปอเรชั่น) ได้อย่างลงตัว … เรื่องนี้ยากมากเพราะไม่ใช่เพียงลูกค้าที่จะมองไม่เห็นความสำคัญของงานเบื้องหลัง แม้แต่คนในบริษัทเองอย่างทีมขาย ทีมการตลาด และผู้บริหารส่วนหนึ่งก็อยากเห็นงานเบื้องหน้ามากกว่าเบื้องหลัง

โปรดักท์ เมเนเจอร์ต้องมีจุดยืนและมองภาพใหญ่ไว้เสมอ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกว่าตอนนี้ควรทำอะไรมากกว่ากัน 👨🏽‍⚖️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *