✍🏼 โปรโตไทป์กับโปรดักท์

สิ่งแรกที่เราควรทำในฐานะโปรดักท์ เมเนเจอร์ที่มีไอเดียใหม่ๆคือ … การพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราคิดในหัวมันจะมีใครอยากได้มั้ย จะมีตลาดมั้ย … ที่สำคัญคือจะมีคนยอมจ่ายเงินเพื่อมันรึเปล่า

ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ซึ่งเป็นทางเลือกที่เราเคยได้ยินกันมาจนติดหูคือโปรโตไทป์ การสร้างโปรดักท์ในเวอร์ชั่นแรกที่เล็ก เร็ว และไม่ลงรายละเอียดเรื่องความถูกต้องและความสะอาดของงานมากนัก

เป้าหมายไม่ใช่ขายแต่เป็นโชว์ให้คนอื่นดู เป้าหมายคือเก็บฟีดแบ็คจากลูกค้ากลุ่มที่เราเล็งไว้ เป้าหมายคือพิสูจน์ว่าไอเดียของเรามันสามารถทำออกมาเป็นโปรดักท์ได้จริง

ปัญหามันจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเราหรือคนอื่นในบริษัทพยายามจะมองว่าโปรโตไทป์คือโปรดักท์จริงที่เราขายได้ … อย่างยั่งยืน หลายครั้งทีมขายมีความรู้สึกไม่แฮปปี้และอายที่จะโชว์โปรโตไทป์นี้ให้กับลูกค้าดู และพยายามที่จะโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อ

ความจริงคือพวกเขาไม่ควรทำแบบนั้น โปรโตไทป์คือโปรโตไทป์ และโปรโตไทป์ไม่ใช่โปรดักท์

คำว่าโปรดักท์ที่แท้จริงหมายความว่า “อะไรบางอย่างที่ทุกคนรวมถึงทีมพัฒนาสามารถส่งมอบหรือรีลีสด้วยความมั่นใจ ที่ลูกค้าของเราสามารถใช้งานได้อย่างจริงจัง และต้องเป็นสิ่งที่เราขายได้และซัพพอร์ตหลังการขายได้

โปรโตไทป์ยังไม่ใช่และคำว่าเอ็มวีพี (MVP) ควรจะเป็นแค่โปรโตไทป์ไม่ใช่โปรดักท์จริงที่เราจะขายแบบเป็นล่ำเป็นสันครับ

เราต้องแยกสองเฟสงานนี้ให้ขาดจากกันแบบชัดเจนพอสมควรว่า ถ้าเรากำลังอยู่ในเฟสที่กำลังค้นหาว่าควรทำโปรดักท์อะไรแบบไหนแนวไหน — โปรโตไทป์ช่วยเราได้

และเมื่อเราใช้โปรโตไทป์ช่วยค้นหาแนวทางที่เหมาะสมได้แล้ว ในเฟสการส่งมอบเราถึงจะเริ่มทำโปรดักท์ที่แท้จริง

🔍 เฟสค้นหา (Discovery) เราพึ่งพาโปรโตไทป์

👨🏼‍💻 เฟสพัฒนา (Delivery) เราจำเป็นต้องทำโปรดักท์ที่มีคุณภาพรอบด้านครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *