✍🏼 กระบวนการที่ไม่เป็นทางการ

ในการทำงานในทุกองค์กรมันมีโพรเซสอยู่สองประเภท หนึ่งโพสเซสในตำราที่ถูกกำหนดและ(พยายาม)บังคับใช้โดยทีมงานส่วนกลาง และสองโพรเซสที่เกิดขึ้นจริงในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติงานตัวจริง

คำถามคือเราในฐานะผู้บริหารหรือหัวหน้างานหรือทีมงานส่วนกลางนั้นรู้หรือไม่ว่าช่องว่างระหว่างโพรเซสทั้งสองประเภทนั้นกว้างขนาดไหน?

โพสเซสประเภทที่สองนั้นคือสิ่งที่พวกเค้าทำกันอยู่ทุกวันจนเป็นนิสัย มันเป็นโพรเซสที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มันเป็นโพรเซสที่พูดกันติดปากว่า “ที่นี่ก็ทำกันแบบนี้แหละ”

  • คนที่รับผิดชอบงานนี้ (Role and Responsibility)
  • คนที่ต้องติดต่อเมื่อเกิดข้อสงสัย (Contact Point)
  • เส้นทางการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น (Escalation Path)
  • แนวทางการจัดการกับงานแต่ละชิ้น (Best Practices)
  • รูปแบบการคิดและตัดสินใจ (Decision-Making Process)
  • ลักษณะการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน (Communication Method)

บางครั้งเราอยากให้กระบวนการต่างๆเป็นไปอย่างมีมาตรฐานแต่ถ้ามันขัดกับธรรมชาติการทำงานที่เกิดขึ้นจริงแล้วหละก็มันจะไม่เกิดผล

บางครั้งเราอยากให้กระบวนการต่างๆเป็นไปในรูปแบบที่คาดการณ์ได้แต่ถ้ามันขัดกับรูปแบบการให้ผลตอบแทนแล้วหละก็มันจะไม่เกิดผล

ถ้าเราให้ผลตอบแทนคนที่ทำงานเร็วมากกว่าทำงานตามรูปแบบที่กำหนด ทุกคนจะหาทางลัดเพื่อให้งานเสร็จเร็ว และทางลัดคือการไม่ปฏิบัติตามโพสเซสที่กำหนดไว้นั่นเอง

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ได้แปลว่าเราควรยกเลิกโพสเซสที่เป็นทางการจนเกลี้ยง

และทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ไม่ได้แปลว่าเราต้องให้ความสำคัญกับโพรเซสทางการรวมถึงหน่วยงานกลางที่ดูแลเรื่องนี้มากเกินไป

โพสเซสไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้งานเสร็จอย่างประสบความสำเร็จ … คนต่างหากที่ใช่

โพสเซสถูกสร้างโดยคนและต้องไม่ถูกใช้เพื่อครอบงำคน … มันต้องรับใช้คน

ผมมีโพสเซสทางการมั้ย? แทบไม่มีเลยครับ มีแค่แนวทางกว้างๆและรูปแบบการทำงานคร่าวๆ แต่มันก็เพียงพอที่จะดำเนินงานได้อย่างคล่องตัวในระยะนี้

ที่เป็นแบบนี้เพราะผมเรียนรู้มากับตัวเองแล้วว่า “เราทำได้แค่กำหนดแต่อย่าหวังให้ใครทำตาม”

เป็นเรื่องจริงที่สะเทือนใจพอสมควร 😔

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *