✍🏼 เบื้องหลังการสร้าง Facebook Platform

มีคนบอกว่าผมเป็นพวกมีหัวฝักใฝ่ตะวันตก ฮ่าๆ อาจจะจริงเพราะผมชอบติดตามข่าวสารเรื่องราวในวงการซอฟต์แวร์ ไอทีเซอร์วิส และสตาร์ทอัพจากฝั่งยุโรปและอเมริกามากกว่าฝั่งเอเชีย

วันนี้มีเรื่องที่น่าสนใจและเป็นกรณีศึกษาที่ดีมาจาก Facebook มาเล่าให้ฟังครับ ผมเข้าเวปไซต์ Facebook Career (เมื่อนานมาแล้ว) แล้วได้ดูวิดีโอที่เค้าเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวการสร้าง Facebook Platform แล้วรู้สึกชอบมาก มากๆ ลองดูกันครับ วิดีโอ 🎬

ขอประมวลแนวคิดที่ผมได้จากวิดีโอนี้ให้อ่านตามนี้ครับ

เรื่องไอเดีย

แรกสุดเลยคุณเอริก (Engineer) บอกว่าหนึ่งในคุณค่าที่ Facebook ให้ความสำคัญคือการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว — Move Fast สองเอริกบอกต่ออีกว่าไอเดียคือเรื่องหนึ่งแต่การเอาไอเดียไปสร้างโปรดักส์ขึ้นมานั้นเป็นอีกเรื่องนึง

— ผมคิดว่าอันนี้เจ๋งนะ มันชี้ให้เห็นว่าอะไรที่อยู่ในหัว บนกระดาษหรือบนกระดานมันไม่ใช่ของจริงอะ … สร้างโปรดักส์สิถึงใช่

สลับมาที่คุณเดฟ (Engineer) เค้าบอกว่าตอนแรกที่คุณสร้างโปรดักส์หนะ คุณไม่รู้หรอกว่าโปรดักส์มันจะออกมาหน้าตาแบบไหน

— มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงเมื่อจำเป็น มันคือความคล่องตัว (Agility)

เดฟบอกต่อด้วยว่าไอเดียที่จะทำ Facebook Platform นั้นเกิดขึ้นมาแล้วพัฒนาไปเรื่อยๆด้วยคนหลายคน เค้าไม่สามารถบอกได้ว่างานนี้ ไอเดียนี้เป็นเครดิตของใครคนใดคนนึง

— อันนี้คือความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของในงาน (Sense of Ownership) รึเปล่าที่คนทุกคนในทีมมีส่วนร่วมช่วยคิดช่วยติช่วยชมและช่วยท

เรื่องการพัฒนา

คุณเอรี (Engineer) บอกว่าเราได้รับอิสระมากในการคิดและทดลองทำอะไรที่เราคิดว่าน่าสนใจโดยไม่มีแรงกดดันว่ามันต้องสำเร็จ

— นี่คือสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (1) อิสระในการคิดและทดลอง (2) ไม่มีแรงกดดันเรื่องความคาดหวังในตัวเงิน

เรื่องน่าทึ่งคือทีม Facebook Platform เริ่มต้นจากคนแค่ห้าคนเอง (เดาว่ามี 1 Product Manager + 3 Engineers + 1 Designer)

— นี่ก็เป็นอีกเหตุผลในมุมมองของผมที่ช่วยสนับสนุนให้การสร้างโปรดักส์เป็นไปได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และคล่องตัว มากคนมากความ มากคนมากกระบวนการ … ช่วงตั้งต้น ยิ่งน้อยยิ่งดี

คุณรูชี่ (Product Manager) แชร์ประสบการณ์ว่ามันเป็นช่วงเวลาที่สนุกและน่าตื่นเต้นมาก เพราะ Facebook Platform คือของใหม่ที่ไม่มีตัวอย่างให้ทีมงานศึกษา ไม่มีหนังสือเล่มไหนให้อ่านเพื่อทำตาม

— นี่ก็เจ๋ง บางครั้งการไม่มีตัวอย่างมันช่วยให้เราคิดอะไรที่แตกต่างและนอกกรอบได้นะ อย่างที่เคยบอกว่าไว้ข้อจำกัดจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

เดฟ (Engineer) บอกว่าช่วงแรกของการพัฒนา Facebook Platform ทีมเค้าไปขโมยเซิร์ฟเวอร์จากทีมอื่นๆมาใช้ก่อน ลองเขียนโปรแกรมง่ายๆที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆของ Facebook ได้ จากนั้นก็เรียกเพื่อนๆทีมข้างเคียงมาดูและลองใช้ ให้เป็น Alpha/Beta Users ไป

— ข้อแรก ผมชอบในความไม่ฟุ่มเฟือยของทีมนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าโปรดักส์ที่กำลังทำมันจะเวิร์คมั้ยแค่ไหน เค้ารู้ว่ามันยังไม่จำเป็นต้องลงทุนในอะไรที่เป็นการสิ้นเปลืองอย่างเช่นเซิร์ฟเวอร์คุณภาพสูงๆ ข้อสอง การหาช่องทางเอาโปรดักส์ออกสู่สายตาพี่น้องประชาชนผู้ใช้ให้เร็วที่สุดเพื่อเก็บเสียงตอบรับเพื่อใช้ในการปรับปรุงโปรดักส์ของตัวเอง

เรื่องการเปิดตัว

หลังจากซุ่มทำ Facebook Platform อยู่ได้ไม่นานเรื่องราวของทีมนี้ก็รู้เข้าถึงหูมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก … แหม่ ถูกใจพี่มาร์กแน่นอน ว่าแล้วพี่มาร์กเลยขอเปิดตัวโปรดักส์ตัวใหม่นี้ในงาน Facebook Developer Conference ซะเลย

เอริก (Engineer) และมาร์ก (Engineer) เล่าว่าพวกเค้ากำลังจะเปิดตัว Facebook Platform ต่อหน้า Developer กว่า 1,000 คนจากทั่วโลก ตื่นเต้นมาก ทั้งทีมมารวมตัวกันอยู่ที่โรงแรม โค๊ดดิ้งไประหว่างพี่มาร์กกำลังขึ้นเวที

— อันนี้จะมองว่าการเตรียมการไม่ดี โค๊ดยังไม่เสร็จ หรือเราจะมองว่ามันเป็นความกล้าหาญ ความเชื่อใจในทีมงานว่าเมื่อ Launch แล้วจะไม่แป๊ก มันคือความสนุกในการทำงาน ฮ่าๆ

หลังจากเปิดตัวแล้ว เรื่องอะเมซซิ่งก็เกิดขึ้น เช้าวันต่อมา Facebook Platform ได้รับการตอบรับอย่างดีมากๆ มีคนเรียกใช้งานจนเกิดแทรฟฟิกมากมายอย่างที่ทีมงานไม่คาดคิด (มี User 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง)

เดฟ (Product Marketing) เล่าให้ฟังต่อว่า ณ เวลานั้นทีมต้องคิดหาทางออกว่าจะขยายขนาด (Scale) เจ้า Facebook Platform นี้อย่างรวดเร็วได้ยังไง

— พวกเค้าเข้าใจเรื่องการทำโปรดักส์อย่างดีเลย พวกเค้ายังไม่คิดถึงปัญหาที่ยังไม่เกิด ในกรณีนี้คือช่วงแรกทำโปรดักส์ออกมาให้ดี ไม่ต้องคิดไปไกลว่าจะมีคนใช้เป็นแสนคนล้านคน เรื่องสเกลไว้ว่ากันเมื่อมีความต้องการขนาดนั้นเข้ามาจริงๆ

แนวทางการสเกลของเค้าก็น่าสนใจมาก แทนที่จะทำเรื่องของบซื้อเซิร์ฟเวอร์เพิ่ม พวกเค้ากลับใช้วิธีบ้านๆด้วยการขับรถบรรทุกไปรอบอ่าวซานฟรานซิสโกเพื่อขอยืมเซิร์ฟเวอร์ที่คนอื่นไม่ได้ใช้ … เอามารองรับความต้องการการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของ Facebook Platform

— สุดยอดนะผมว่า … พวกเค้าเป็นทีมที่ประหยัดมัธยัสถ์จริงๆ

เอรี (Engineer) เปิดเผยความลับที่น่าทึ่งสุดๆว่า พวกเค้าใช้เวลาแค่ 2–3 สัปดาห์เท่านั้นในการสร้าง Facebook Platform จากศูนย์

— เทพมากๆอะ 2–3 สัปดาห์นี่มันอะไร? สปริ้นท์ครึ่งเองปะ? ฮ่าๆๆ นี่แหละ Move Fast ของจริง

สรุป

คุณทอม (Engineer) บอกว่า Facebook ให้ความสำคัญกับคำว่าก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วมาก มากในแบบที่บริษัทอื่นไม่สามารถเข้าถึงและตามทัน คุณมาร์ก (Engineer สุดหล่อ) ย้ำว่าความสำเร็จส่วนใหญ่ของ Facebook ไม่ได้เกิดจากการที่พวกเค้ามีไอเดียที่ดีที่สุดแต่เป็นเพราะการที่พวกเค้าไม่เคยกลัวที่จะทดลองอะไรใหม่ๆเพื่อพัฒนาไอเดียที่อาจจะไม่ดีมากให้เป็นโปรดักส์ที่ดีระดับโลกการที่พวกเค้าสามารถคิดและทดลองได้รวดเร็วและดีกว่าคู่แข่งต่างหากคือเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมดของ Facebook — ชัดเจนนะ

ปิดท้ายที่คุณเดฟ (Engineer) ที่บอกว่า

คุณไม่ต้องการโกดังขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วย Developer เป็น 1,000 คนเพื่อทำโปรดักส์ที่ดีที่ Facebook (ในตอนนั้น) เรามีคนแค่ 200 คนที่สามารถทำอะไรที่คน 1,000 ไม่สามารถทำได้

— เพราะพวกเค้าเข้าใจคำว่า Moving Fast นั่นเอง

ผ่านมาเป็นปีแล้ว กลับมาดูกี่ทีผมก็ยังอินกับวิดีโอนี้มากทีเดียว ฮ่าๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *