ความเชื่อดั้งเดิมมีอยู่ว่า “เราต้องเลือก ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง”
จริงหรือ?
มันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการอะไร … เพราะความจริงแล้วคือเราสามารถออกแบบชีวิตให้ได้ทั้งหมด ได้ทุกอย่างที่เราต้องการ
ความสำคัญไม่ใช่ว่า ต้องเลือก หรือได้ทั้งหมด … แต่มันคือความชัดเจนว่าเราอยากได้อะไรแล้วสิ่งเหล่านั้นมันไปด้วยกันได้หรือไม่
อยากขายให้ได้ทุกคน อยากครอบครองตลาดส่วนใหญ่ไว้ในมือ แต่ไม่อยากมีความวุ่นวายในการให้บริการหลักการขาย และไม่อยากมีทีมงานมากกว่า 3 คน
ถ้าเงื่อนไขเป็นแบบนี้ สัจธรรมบอกเราว่า ไม่ได้หรอก คุณมีทุกอย่างพร้อมกันไม่ได้ เพราะมันขัดแย้งกันเอง เพราะถ้ามีลูกค้าทั่วทุกมุมเมือง การให้บริการหลังการขายคือความรับผิดชอบที่ต้องตามมาโดยปริยาย
แต่ถ้า …
ใจหนึ่งก็อยากขายให้ได้มาก อยากมีกำไรมาก และอยากสร้างทีมขนาดเล็กไม่เกิน 5 คน แบบนี้เรามีสิทธิ์เต็มร้อยที่จะได้ทุกอย่าง
การขายให้ได้มากเท่าที่อยากได้ ไม่จำเป็นคนมีคนมาก
การขายให้ได้กำไรมาก ยิ่งมีคนมาก ยิ่งกำไรน้อย
และการขายมากที่ให้บริการหลังการขายไม่มากก็เป็นไปได้ด้วยคุณภาพสินค้าที่ดี
เรามีมันได้หมด พร้อมกัน ด้วยเงื่อนไขที่ถูกต้อง
คำถามคือ เราอยากได้แค่ไหน คำว่ามากคือมากแค่ไหน คำว่าน้อยคือน้อยเท่าไร
เรากำหนดได้ทั้งนั้น … และนั่นจึงเป็นที่มาของความเชื่อที่ดูจะขัดแย้งกับสิ่งที่ปฏิบัติกันมานาน “เราต้องเลือกระหว่างสองทางนี้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง — ขายได้มาก หรือความไม่วุ่นวายหลังการขาย”
ไม่จริงเสมอไป เราสามารถได้มันมาทั้งสองอย่างพร้อมกัน ด้วยการคิด วางแผน และมีวินัยอย่างดี