เพราะเราเชื่อว่ามันเสี่ยงน้อยกว่าถ้าเราเลือกอยู่ฝั่งเสียงข้างน้อย
ถ้าคุณอยากทำอะไรบางอย่าง — อะไรก็ได้ — อย่างประสบความสำเร็จและคุณไม่มีคู่มือ ไม่มีบุคคลตัวอย่าง ไม่มีแผนงาน ไม่มีที่ปรึกษาอะไรทั้งสิ้น ทั้งหมดที่คุณจำเป็นต้องทำคือลองมองไปรอบๆว่าคนส่วนใหญ่ทำสิ่งนี้อย่างไรแล้วทำในสิ่งตรงข้าม — เพราะคนส่วนใหญ่นั้นผิดเสมอ — เอิร์ล ไนติงเกล
ในห้องประชุมให้ใช้ประสาทหูให้มาก ใครคิดเห็นอย่างไร ใครเลือกอยู่ข้างไหน ไอเดียไหนที่เป็นที่ป๊อบปูล่าที่สุด … เราต้องตั้งคำถามกับมันทันทีว่า “จริงหรือ?” … เราต้องสังหรณ์ใจไว้ก่อนเลยว่า “นั่นมันผิด”
ถ้าเราเป็นตัวแทนของทีม คนอื่นเขาคิดยังไง คนส่วนใหญ่คิดว่าอะไรดีเลิศ … เหมือนเดิม เราขออยู่ฝั่งเสียงข้างน้อย
- จริงหรือที่เทคโนโลยีนี้เหมาะสมที่สุด?
- จริงหรือที่โซลูชั่นนี้จะแก้ปัญหาได้?
- เราต้องการงานนี้มากขนาดนั้นเลย?
- นี่หวังผลแค่ระยะสั้นนี่หน่า ถ้าจะขยายระบบทำยังไง ไปต่อไม่ได้เลยนะ
- แน่ใจกันจังว่าสมมติฐานข้อนี้จะเป็นจริง บังคับให้ลูกค้าอัพเกรดโปรแกรมเนี่ยนะ?
ถ้าเราเป็นผู้นำองค์กร เพื่อนบ้านเขาคิดอะไรกัน เขาทำอะไรอยู่ เขาเห็นด้วยเรื่องอะไร เขาปฏิเสธเรื่องไหน … เหมือนเดิม เราขออยู่ฝั่งเสียงข้างน้อย
- เมื่อทุกคนแห่ลงโฆษณากับเฟสบุ๊กหรือติ๊กต๊อก
- เมื่อทุกคนแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจากลูกค้ารายใหญ่
- เมื่อหลายคนพยายามโค่นเจ้าตลาดในเกมที่เจ้าตลาดเป็นผู้กำหนด
- เมื่อทุกคนคิดว่าบริษัทของฉันต้องมีโมบายแอปเป็นของตัวเอง
- เมื่อเกือบทุกคนคิดว่าโปรดักท์นี้สำคัญฟีเจอร์นี้ขาดไม่ได้
- เมื่อเกือบทุกคนคิดว่าไม่มีทางที่จะมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว
เราไม่ใช่พวกจระเข้ขวางคลองหรือตัวถ่วงความเจริญ เราเป็นแค่คนที่ตั้งข้อสงสัยกับหลายเรื่อง คนที่ไม่เชื่อว่าการตัดสินใจที่ถูกต้องจำเป็นต้องมาจากคะแนนเสียงข้างมาก
เราเป็นแค่คนที่มีความคิดเป็นของตัวเองและเข้าใจว่าการบริหารความเสี่ยงเริ่มต้นจากการมองเห็นในสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้าม