ความคาดหวังที่มีเหตุผล

ดูจากรูปข้างบน … ถ้าเราต้องทดลองปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ สามปัจจัยที่ทีมจะถูกเพ่งเล่งเป็นพิเศษตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นการ “ทดลอง” ไม่ว่าจะแนวปฏิบัติใดก็ตาม

  1. ความยืดหยุ่น (Flexibility) — คำนี้มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับคำว่าการเปลี่ยนแปลงในซอฟต์แวร์ การเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญของชิ้นงานหรือของโปรเจกต์หรือของสมาชิกในทีม … ถ้าเรามองว่ากระบวนการใหม่จะช่วยให้การจัดการงานของทีมจะมีความยืดหยุ่นคล่องตัวมากขึ้น มีการวางแผนกันทุกสัปดาห์ทุกสองสัปดาห์ บางแนวคิดกล่าวว่าการวางแผนและเปลี่ยนแผนสามารถทำได้ทุกวันด้วยซ้ำไป … แบบนี้สบายแล้ว ฉันอยากได้อะไรก็คิดได้สั่งได้สินะ
  2. ความสามารถในการคาดเดา (Predictability) — คือเอสติเมทกันได้แม่นยำมากขึ้น สามารถประเมินเวลาที่จะใช้ในแต่ละชิ้นงานในแต่ละโปรเจกต์ได้อย่างไม่คลาดเคลื่อน เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญทางธุรกิจที่ต้องก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ เมื่อเธอเอสติเมทแล้วและเมื่อฉันวางแผนแล้ว ห้ามเปลี่ยน
  3. ความรวดเร็ว (Speed) — นี่อาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่มุ่งมาตรปรารถนาสูงสุดของผู้มีอำนาจ? อะไรยังไงไม่ว่าขอให้งานเสร็จเร็วไว้ก่อน เราก็ได้ยินเขาพูดกันว่าแนวทางแบบนี้ช่วยให้ทำงานเสร็จเร็วขึ้น เห็นผลลัพธ์ได้ไว้ขึ้นกว่าแต่ก่อน ฉันก็มีความคาดหวังสูงสิว่าเมื่อฉันลงทุนสนับสนุนให้เปลี่ยนแล้ว งานต้องไม่มีดีเลย์

ความคาดหวังไม่ใช่เรื่องผิด แต่ความคาดหวังแบบผิดๆเป็นเรื่องผิด … ทุกอย่างไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ

  • ความยืดหยุ่นที่ไม่มีจุดสิ้นสุด การเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาอะไรไม่ได้ จะทำให้ความเร็วลดลงจนอาจจะติดลบ — เช้าวันจันทร์พูดอย่าง บ่ายวันพุธของเปลี่ยนไปทำอีกอย่าง คืนวันเสาร์โทรมาบอกว่าไม่เอาแล้วแบบเดิม
  • การยึดโยงตารางเวลาขององค์กรไว้กับความสามารถในการเอสติเมทของทีมเพียงอย่างเดียวคือความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวง — เอสติเมทคือการประเมินซึ่งมีแค่โอกาสผิดน้อยและผิดมาก
  • ความรวดเร็วเหนือแสง มันคือการเสียสละสิ่งอื่นๆไป คุณภาพ ทีมเวิร์ค ความสุขในการทำงาน ความยั่งยืน — คุ้มหรือไม่?

ใครที่โฟกัสการพัฒนาทีมไปแค่สามปัจจัยนี้ไม่ใช่ทีมงานที่เข้าใจปรัชญาของการทำงานร่วมกันที่ยั่งยื่นอย่างแท้จริง … เพราะมันคือหกไม่ใช่แค่สาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *