🎱 อย่าคาดหวังว่าใครจะทำตาม

เมื่อเราพยายามวางระบบระเบียบในการทำงาน เครื่องมือที่ควรใช้ แนวทางการจัดการที่ควรจะเป็น

  • การวางแผนงาน
  • การจัดการเรื่องเอกสารต่างๆ
  • การเขียนโค๊ด
  • การทำเทส
  • การจัดการระบบบิ้วด์และดีพลอย
  • การติดต่อลูกค้า
  • การซัพพอร์ตเคส

ความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของกระบวนการนี้มันเกิดขึ้นเมื่อเรามีทัศนคติที่ว่า “ผมมีหน้าที่ออกแบบและกำหนดกระบวนการเพื่อให้คนอื่นทำตาม” … มันล้มเหลวมานักต่อนัก … ถ้าเรามีโอกาสได้คิดใหม่ทำใหม่อีกคร้ัง … เราไม่ควรจะพลาดแบบที่ผ่านมา

“เราจะสนับสนุนให้คนทำงานได้มีโอกาสออกแบบและจัดระเบียบแนวทางการทำงานด้วยตัวเองเพื่อตัวเอง”

เราต้องช่วยคิดและทำในสิ่งที่น่าจะมีประโยชน์กับส่วนรวมโดยท่องไว้ในในเสมอว่าพวกเราต้องเป็นคนเทคแคร์ดูแลสิ่งที่คิดขึ้นมาด้วยตัวเอง

  • นี่คือแนวทางการทำรีลีสแพลนของเรานะ
  • ฟีเจอร์ต้องมีรายละเอียดแบบนี้
  • บั๊กต้องเรคคอร์ดไว้ที่นี่
  • เอกสารเรื่องสโคปงานต้องตามเทมเพลทนี้เท่านั้น
  • ธีมของเวปและแอพต้องให้เข้ากับแบรนด์ของบริษัทด้วย
  • นี่คือโครงสร้างสถาปัตยกรรมของงานนี้
  • โครงสร้างและมาตรฐานการเขียนโค๊ดควรได้ตามนี้
  • การจัดการเทคนิคัลเดทบ์ต้องทำตามนี้
  • ออโตเมทเทสต้องครอบคลุมมาถึงจุดนั้น
  • ขั้นตอนการใช้ซอร์สโค๊ดคอนโทรลอยู่ที่นี่
  • ระบบบิ้วด์มีข้อจำกัดแบบนู้น

จริงอยู่ นี่คือสิ่งที่เราทุกคนอยากให้เป็น “ผมหวังว่าทุกคนจะทำตามนี้นะ วิธีการที่ผมกำหนดมามันเจ๋งสุดดีสุดในสามโลกแล้ว” แต่บอกได้เลยว่า “เราคิดผิดถนัด”

เรื่องแบบนี้เราไม่สามารถคาดหวังได้เลยว่าทุกคนจะทำตาม — เป็นไปไม่ได้เพราะมนุษย์เราไม่ชอบการถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่างี่เง่าและไม่อยากทำ

งั้นคำถามต่อไปคือ “ถ้าทุกคนไม่ทำตามแล้วยังไงต่อละ?” จะปล่อยให้มันเละเทะก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี … เหลือแค่ทางเดียวคือคนออกแบบคนกำหนดก็ต้องเป็นคนรับผิดชอบต้องลงมือทำเองเท่านั้น

  • ไม่มีคนอยากเขียนฟีเจอร์ ฉันทำเอง
  • ทุกคนไม่เปิดเข้าไปดูในระบบว่ามีงานอะไรต้องทำบ้าง ถามมาฉันจะเล่าให้ฟัง
  • เพื่อนคนหนึ่งไม่มีเวลาเรคคอร์ดบั๊ก ฉันทำแทน
  • น้องพาร์ทไทม์ส่งโค๊ดเข้ามาแต่ผิดโครงสร้าง เพื่อนฉันแก้ให้
  • พี่อีกคนไม่มีเวลาเมิร์ชโค๊ด น้องอีกคนช่วยได้

นั่นคือความงดงามของความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของในงานและในกระบวนการ เมื่อทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วมความรับผิดชอบจะมีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

ใจความสำคัญของเรื่องนี้จึงไม่ใช่การบังคับให้ทุกคนทำตามทุกขั้นตอนแต่เป็นการทำให้มั่นใจว่าในทุกขั้นตอนจะมีใครซักคนเป็นเจ้าของและคอยรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น

เราดีด้วยกันเป็นทีม แย่พร้อมกันเป็นทีม เราเต็มเติมซึ่งกันและกัน — มันดีที่สุดแล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *