อะไรบ้างที่ไม่มีคำว่ามากเกินไป? ผมเองคิดว่าเงินและกำไรคือสิ่งจับต้องได้ที่เราไม่เคยเบื่อถ้ามีมากเกินไป ก็ชัดเจนว่าเราทำธุรกิจเพื่อสร้างเงิน … กรณีนี้ยิ่งมากยิ่งดีตราบใดที่เราใช้มันอย่างถูกวิธี
บางคนคิดว่าฟีเจอร์ยิ่งมากยิ่งดี ฟีเจอร์ช่วยให้เราขายได้ ฟีเจอร์ช่วยให้เรานำหน้าคู่แข่ง ฟีเจอร์ดึงดูดฟีดแบคดีๆ … กรณีนี้เป็นเรื่องที่มองได้สองด้านและมีโอกาสสูงที่เราจะเสียใจภายหลังที่ทำโปรดักท์ที่มีฟีเจอร์มากเกินไป
- เมื่อลูกค้าไม่เคยรู้ว่ามีฟีเจอร์นี้อยู่
- เมื่อโปรดักท์เริ่มใช้งานยาก
- เมื่อจัดเทรนนิ่งให้ผู้ใช้กลายเป็นงานที่ต้องทำบ่อยๆ
- เมื่อซัพพอร์ตเคสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- เมื่อโค๊ดขยายตัวจนจัดการไม่ได้
- เมื่อโปรเจกต์เสร็จช้าเพราะมีงานต้องทำเยอะขึ้น
- เมื่อระบบทำงานช้าลงเพราะต้องทำงานหนักขึ้น
- เมื่อทีมเซลล์ไม่รู้จะหยิบอะไรขึ้นมาเป็นจุดเด่นเพื่อขายของ
มันมีฟีเจอร์อยู่สองแบบ หนึ่งคือฟีเจอร์มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่คิดว่าต้องมี และสองฟีเจอร์พิเศษที่ทำให้โปรดักท์ของเราสร้างคุณค่าให้ผู้ใช้ได้มากกว่าเดิม
มันคือศิลปะในการสร้างสมดุลระหว่างฟีเจอร์ทั้งสองแบบนี้ เทคนิคคือหาทางลดฟีเจอร์มาตรฐานที่ใครๆก็คิดว่าจำเป็นลงเพื่อเอาเวลามาพัฒนาฟีเจอร์พิเศษให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
ไอพอดเวอร์ชั่นแรกคือตัวอย่างที่ดี … สามฟีเจอร์หลักที่ถูกเลือกคือ ความจุมหาศาล, การควบคุมด้วยวงล้อหมุน, และความง่ายในการเข้าถึงเพลงที่ต้องการฟังภายในไม่เกินสามคลิ๊ก
ที่เหลือเป็นเรื่องรอง เช่น การซิ้งค์ไฟล์ที่ยากลำบากผ่านไอทูนเท่านั้น (อันนี้น่าเบื่อจริง) เป็นต้น
ฟีเจอร์ … กลับกลายเป็นว่ายิ่งน้อยยิ่งดี 🙌🏼
Pingback: ✍🏼 ความถดถอยของคุณค่าในฟีเจอร์ – ปิโยรส – ธุรกิจ, สตาร์ทอัพ, ซอฟต์แวร์