“I don’t like a job in which everything is restricted by users. Software is like an art. It’s not just technology … it’s about design, imagination and better future.”
“ผมไม่ชอบงานที่ทุกอย่างถูกกำหนดโดยผู้ใช้ (หรือลูกค้า) ซอฟต์แวร์มันก็เหมือนงานศิลปะ มันไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี … มันคือการออกแบบ การใช้จินตนาการ และมันคืออนาคตที่ดีกว่า”
ประโยคนี้ถูกเขียนออกมาจากการสังเกตตัวเองครับ … หลักการง่ายๆสองข้อที่ผมใช้เลือกรับงานคือ
- ผมต้องการพื้นที่ว่างสำหรับการใส่ความเป็นตัวตน (Authenticity) ลงไป — ดังนั้นงานไหนที่ล็อกสเปคมาแล้วเป๊ะๆ กำหนดรายละเอียดมาแล้วทุกเรื่อง มีโอกาสสูงมากที่ผมจะปฏิเสธ
- ผมอยากทำงานที่สร้างความรู้สึกตื่นเต้น (Excitement) ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ฟัง — ถ้าปัญหามันท้าทาย ถ้าเป้าหมายมันดูยิ่งใหญ่ นั่นคือความรู้สึกตื่นเต้นที่ผมอยากได้ ถ้างานนี้มันเหมือนเดิมซ้ำซาก อืมมม คงต้องเซย์โน
ผมสังเกตตัวเอง ผมสังเกตเพื่อนร่วมทีม เราต้องการอะไรคล้ายๆกันนะครับ ถ้างานโดนล็อกสเปค ถ้างานไม่น่าตื่นเต้น พวกผมก็จะมีความรู้สึกไม่กระตือรือร้นอยากทำเท่าไร ออกแนวเฉื่อยชาและขี้เกียจ — มันมีทั้งข้อเสียและข้อดี … ข้อดีมีด้วยหรอ?
มีครับ ผมเชื่อว่าพวกเราก็ไม่ต่างกันมากหรอก ทุกคนอยากทำงานที่มีช่องว่างให้หายใจ ทุกคนอยากทำงานที่สดใหม่น่าตื่นเต้น … ถ้าเราให้สองอย่างนี้กับทีมได้ ผมเชื่อว่าความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของจะเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานจะสูงขึ้นตามไปด้วยครับ
- ถ้าอยากมีช่องว่างให้หายใจ — อย่าโฟกัสที่ “อย่างไร” เปลี่ยนมาโฟกัสที่ “อะไร” และ “ทำไม”
- ถ้าอยากสร้างความตื่นเต้น — อย่าโฟกัสที่ฟีเจอร์ เล่าให้เค้าฟังถึงเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของงานที่เรากำลังทำอยู่
สองข้อคิดสำหรับคนที่อยากเพิ่มภาวะความเป็นผู้นำในทีมครับ 💪🏽