✍🏼 กำไรขั้นต้นกับบริษัทซอฟต์แวร์

ข้อดีของการทำซอฟต์แวร์แบบมีผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกรายเดือนคือเราขายสิ่งที่เราสร้างไว้ได้อย่างไม่จำกัด

ลูกค้ารายแรก รายที่สิบ หรือรายที่พันก็ใช้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวตัวเดิมที่เราทำไว้ นั่นแปลว่าต้นทุนในการขายของเราควรจะต่ำมากและกำไรขั้นต้นของเราควรจะสูงกว่าธุรกิจอื่นๆมากเช่นกัน

กำไรขั้นต้น = รายได้ – ต้นทุนขาย

ถ้าเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป เรารับสินค้ามา 90 บาท ขายได้ 100 บาท อย่างน้อยต้นทุนของเราคือ 90% และอย่างมากเราจะได้กำไรขั้นต้น 10%

แต่ซอฟต์แวร์นั้นกลับกัน ทุกรายได้ 100 บาท เรามีโอกาสจะได้กำไรขั้นต้นสูงถึง 90% และต้นทุนขายเป็นแค่ 10% เพราะสำหรับซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ต้นทุนในการขายจะตกหนักอยู่กับแค่ค่าเช่าพื้นที่บนคลาวด์เท่านั้นเอง

ถ้าเราเลือกเส้นทางนี้แล้ว เป้าหมายหลักของเราคือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งมันมีโอกาสเป็นไปได้

แต่มันแปลว่าเราจะได้กำไรสุทธิสูงตามไปด้วยหรือไม่? คำตอบคือไม่แน่เสมอไป

เพราะบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพสูงก็มีต้นทุนในการดำเนินการสูงเข่นกัน เงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา และอื่นๆ เมื่อหักลบกันแล้ว … 

กำไรขั้นต้นสูง – ต้นทุนดำเนินการที่สูง = กำไรสุทธิที่อาจจะไม่สูงนักในช่วงต้น แต่มันเป็นทางเลือกที่ดีกว่าอีกกลยุทธ์หนึ่งคือ กำไรขั้นต้นต่ำ (เพราะซื้อมาขายไป พึ่งพาสินค้าสำเร็จรูปมากเกินไป ทำให้ต้นทุนขายสูงตามไปด้วย) และต้นทุนดำเนินการที่ต่ำ (เพราะไม่ลงทุนในคน เทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา)

พูดอีกนัยหนึ่งคือ กำไรขั้นต้น 80% – ต้นทุนดำเนินงาน 60% เหลือกำไรสุทธิ 20 % นั้นดูมีอนาคตว่า กำไรขั้นต้น 50% – ต้นทุนดำเนินงาน 30% เหลือกำไรสุทธิ 20% เท่ากันอยู่มากพอสมควร

กำไรมากเพื่อกล้าลงทุนในจุดที่ควรจะลงทุน … บริษัทซอฟต์แวร์ที่ดีควรทำแบบนี้ครับ 🙌🏼

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *