“ก็ผมไม่แน่ใจว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง ผมเลยนั่งรอให้มีคนมาใช้งานผมนี่แหละครับ”
มันมีงานบางประเภทที่ตกอยู่ในกลุ่มนี้ … งานที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยการขัดจังหวะ ผมเคยเป็นโปรเจกต์ เมเนเจอร์ที่มีธรรมชาติการทำงานแบบนี้ในสมัยก่อนนู้น … ไม่ภูมิใจซักเท่าไร
และพฤติกรรมที่พร้อมถูกขัดจังหวะแบบนี้ก็จะเติบโตแพร่หลาย จากงานมาเป็นทีมและสุดท้ายทั้งองค์กร อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือไม่ว่าคุณจะเป็นใครทำงานในตำแหน่งอะไรและอยู่ที่ไหน คุณต้องสแตนบายพร้อมตลอดเวลา … และไม่ว่าคุณจะทำอะไรอยู่ คุณต้องหยุดและทำตามคำขอ (ที่ขัดจังหวะ) นั้นทันที
องค์กรที่ถูกขับเคลื่อนโดยการขัดจังหวะนั้นมีอยู่ที่ทุกในทุกรูปแบบ — คุยกันตัวต่อตัว ส่งข้อความ อีเมล แชท โทรศัพท์ และการประชุม
ใครๆก็สร้างการขัดจังหวะได้ ที่น่าสนใจคือคนที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้านั้นสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นได้มากที่สุด เมื่อผู้อำนวยการต้องการบางอย่างเดี๋ยวนี้ มันต้องเดี๋ยวนี้
เมื่อท่านรองประธานต้องการคำตอบ (ที่ท่านอยากฟัง) ใครซักคนต้องเดือนร้อน เมื่อท่านซีอีโอเรียกประชุมด่วน ต้องมีใครบางคนถูกลากออกจากโต๊ะทำงานและงานที่ทำอยู่เพื่อเข้าประชุม
การขัดจังหวะมีอยู่ทุกที่ทุกเวลาในองค์กรแบบนี้ … อืมม การที่ทำงานอะไรไม่ค่อยจะเสร็จตรงเวลาก็ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพร้ส์
และต้นตอของปัญหามันก็ชัดเจนอยู่แล้ว จริงมั้ย? 🙂