มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า
ประสิทธิภาพ (Productivity) คือ
การวัดปริมาณงานหรือเอ้าพุตที่ทำเสร็จต่อจำนวนเวลาหนึ่งๆ ถ้าเราคิดซะว่าปัจจัยอื่นๆเหมือนกันหมด ยิ่งเราผลิตงานหรือเอ้าพุตได้มากก็แปลว่าเรามีประสิทธิภาพมาก ในยุคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาหลายสิบปีเจ้าของธุรกิจจึงมุ่งมั่นเพิ่มประสิทธิภาพเพราะมันคือการเพิ่มรายได้และความมั่งคั่ง
ขั้นแรก
วิธีที่ง่ายที่สุดคือที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ คือเราต้องทำงานนั้นให้เก่งขึ้น … ต้องทำงานหนักขึ้น ด้วยทักษะที่เพิ่มขึ้น
ขั้นที่สอง
คือหาคนที่ค่าแรงถูกกว่าเรามาทำงานนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่าการที่มีคนทำงานหลายคนจะทำให้งานเสร็จมากขึ้นและเร็วขึ้น
ขั้นที่สาม
คือเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น หากถ้าเราใช้มือเขียนโน๊ตในกระดาษทีละแผ่นเพื่อแจกจ่ายให้คนในทีม ก็ลงทุนซื้อเครื่องซีรอกซ์มาแทนซะ … ประสิทธิภาพก็จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
ขั้นที่สี่
คือการคิดค้นหาเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไปอีกเป็นหลายเท่าตัว เช่น จากเครื่องซีรอกซ์ก็เปลี่ยนเป็นปริ้นเตอร์หรือส่งไฟล์ออนไลน์ไปเลย
ขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่หลายคนไม่เคยคิด นั่นคือ “มองหาสิ่งที่ดีกว่าที่จะทำ” เมื่อนึกถึงคำพูดดีๆของปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker, สุดยอดปรมาจารย์ด้านการบริหารและการจัดการของโลก) จะเห็นว่าขั้นตอนสุดท้ายนี้คือขั้นตอนที่สำคัญที่สุดจริงๆ
“Doing the right thing is more important than doing the thing right.”, Peter Drucker
“การทำสิ่งที่ถูกสำคัญกว่าการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยวิธีการที่ถูก”, ปีเตอร์ ดรักเกอร์
“There is nothing quite so useless as doing with great efficiency something that should not be done at all.”, Peter Drucker
“ไม่มีอะไรไร้ประโยชน์เท่ากับการทำอะไรที่ไม่ควรทำด้วยประสิทธิภาพสูงสุด”, ปีเตอร์ ดรักเกอร์
ขั้นตอนสุดท้ายนี้มันคือการกลับมาตั้งคำถามที่จุดเริ่มต้นว่า “สิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันถูกต้อง ถูกทาง และจำเป็นจริงๆแล้วหรือไม่?” คำถามพวกนี้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคิดถึงกัน เวลาส่วนใหญ่จึงหมดไปกับการพยายามทำงานที่ไม่จำเป็นให้ดีขึ้น ให้เร็วขึ้น ให้เก่งขึ้น ลงทุนในเรื่องระบบ เครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยี ความรู้และการอบรมต่างๆ แต่สุดท้ายมันจะถึงทางตันอยู่ดีเพราะผลลัพธ์หรือประสิทธิภาพที่ได้มันไม่ตอบโจทย์ความคาดหวังที่ตั้งเอาไว้