การตั้งเดดไลน์นั้นสำคัญอยู่เรื่องหนึ่ง …
นั่นคือมันเป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกเราได้ดีว่า เมื่อไรควรจะหยุด
หยุดเรื่องนี้ หยุดฟีเจอร์นี้ หรือแม้หยุดทำโปรดักท์นี้แล้วปิดงานไว้เท่าที่ทำเสร็จ
มันเป็นการลองเดินลุยไปข้างหน้าด้วยความพยายามอย่างเต็มที่ แต่เมื่อมันไม่เวิร์ค … มันก็ไม่แปลกที่จะหยุด
มันเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ
เดดไลน์ช่วยให้เราต้องจัดลำดับความสำคัญตลอดเวลา และเดดไลน์คือปฏิกิริยาลูกโซ่
หลายครั้งเราไม่ได้ตั้งเดดไลน์นี้เพื่อผลประโยชน์ของงานชิ้นเดียวหรือคนคนเดียว แต่สถานการณ์คือ … เราต้องทำงานนี้ให้เสร็จภายในวีคนี้เพราะเราต้องเริ่มงานต่อไปวีคหน้า ไม่งั้นมันจะเสร็จไม่ทันปลายเดือนมี.ค.
ในกรณีนี้ … งานหลังสำคัญกว่างานแรก เดดไลน์อันที่สองสำคัญกว่า นั่นแปลว่าถ้าวันนี้เราคิดว่างานชิ้นแรกยังไงๆก็ไม่เสร็จวีคนี้ และไม่ว่ายังไงก็ไม่น่าจะเสร็จเร็วๆนี้
หยุดเลยดีกว่า … หยุดแล้วจบงานไว้เท่าที่มีตอนนี้ (ถ้าเราทำซอฟต์แวร์อย่างมีกระบวนการจริงๆ อย่างน้อยเราก็จะมีฟีเจอร์บางส่วนที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์)
เดดไลน์ไม่ได้มีไว้เพื่อตะบี้ตะบันทำๆๆ ทำให้เสร็จตามนั้น
เดดไลน์มีไว้ให้เราสำรวจตัวเองว่าเมื่อไรจะหยุด
เดดไลน์มีไว้ให้เราต้องจัดลำดับความสำคัญของงานโดยรวมตลอดเวลา