🤡 อัตราความเข้าท่า

เราพูดกันบ่อย

“แบบนี้เมคเซ้นส์มั้ย?” หรือ

“เรื่องนี้แม่งไม่เมคเซ้นส์เลยหวะ”

คำนี้ถูกใช้เป็นบรรทัดฐานสำคัญในการพิจารณาความเหมาะสมของเรื่องต่างๆ …​ แทบทุกเรื่อง

เมื่อเร็วๆนี้ตัวผมเองก็ประสบพบเจอเรื่องอะไรแปลกๆหลายเรื่อง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระบวนการของหน่วยงานราชการไทย)

  1. กระบวนการที่ควรจะจบแต่ไม่จบ เช่น เมื่อได้ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มาแล้ว คนต่างชาติรายนี้ยังต้องไปยื่นเรื่องขอวีซ่าเพื่ออยู่ในประเทศไทยอีก ยื่นเรื่องไม่เท่าไร …​ ต้องส่งเอกสารเหมือนที่เคยส่งไปตอนขอใบอนุญาตทำงาน — เมคเซ้นส์มั้ย?
  2. ขั้นตอนที่ง่ายแต่กลายเป็นยาก เช่น การยื่นขอใบรับรองที่เพียงแค่สั่งปริ้นท์ออกมาจากในระบบแต่กลายเป็นว่าเราต้องกลับมารับในอีก 3 วันให้หลังเท่านั้น — เมคเซ้นส์มั้ย?
  3. กฎเกณฑ์ที่ออกแบบมาโดยไม่ยึดหลักความเป็นจริง เช่น ในกรณีวีซ่านักเรียน ตามกฎคือนักเรียนต่างชาติคนนี้ต้องอัปเปหิตัวเองออกจากประเทศไปภายในหนึ่งวันหลังจากการเรียนวันสุดท้ายจบลง — เมคเซ้นส์มั้ย?
  4. กฎเกณฑ์ที่แข็งกร้าวเกินจำเป็น เช่น “ไม่ได้นะ ต้องมีลายเซ็นกรรมการบริษัททุกคน จะอยู่ต่างประเทศก็ต้องไปล่ามาให้ได้” — เมคเซ้นส์มั้ย?

ตัวอย่าง่ายๆที่ทำให้เราฉุกคิดว่า “เฮ้ เรื่องนี้มันเมคเซ้นส์มั้ย?” แล้วมันก็จะยืดยาวไปที่

  • โฮ้ กระบวนการนี้เมคเซ้นส์มั้ย?
  • เฮ้อ ระบบนี้มันเมคเซ้นส์มั้ย?
  • เฮ้ย หน่วยงานนี้เมคเซ้นส์มั้ย?
  • เอ่อ องค์กรนี้มันเมคเซ้นส์มั้ย?
  • อืม ประเทศนี้มันเมคเซ้นส์มั้ย?

มันไปได้ไกลขนาดนั้นด้วยคำนี้คำเดียว คำนี้สามารถบ่งบอกอดีตและชี้อนาคตของอะไรต่างๆได้มากมาย ถ้าสิ่งที่เราทำอยู่ไม่เมคเซ้นส์ ถ้าแอพที่เราทำอยู่ไม่เมคเซ้นส์ อนาคตคงมืดมนมากๆ 😒

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *