✍🏼 ความอันตรายของ “ฉันรู้ทุกอย่าง”

กับบางคนกับบางตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจของคนทั่วไป … จำเป็นมั้ยที่พวกเค้าต้องรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เค้าทำอยู่?

ว่ากันที่โปรดักท์โอนเนอร์ จำเป็นมั้ยที่นอกจากเรื่องโปรดักท์ เรื่องลูกค้า แล้วพวกเค้าต้องเข้าถึงธุรกิจ กลยุทธ์ การขาย การตลาด การเงิน บัญชี กฎหมาย การดูแลหลังการขาย รวมถึงเทคโนโลยี และการออกแบบ

ใครทำได้ครบบ้าง?

ว่ากันต่อที่ดีเวลลอปเปอร์ จำเป็นมั้ยที่นอกจากเรื่องงานเขียนซอฟต์แวร์ แล้วพวกเค้าต้องเข้าถึงธุรกิจ ลูกค้า เทสติ้ง งานโครงสร้างสถาปัตยกรรม การออกแบบยูไอ วิชั่ลดีไซน์ งานอินฟรา เซิร์ฟเวอร์และซัพพอร์ต งานดีบีเอ เขียนเอกสารทางเทคนิคและคู่มือการใช้งาน รวมถึงงานโปรเจกต์เมเนจเม้นท์

ใครทำได้ครบบ้าง?

คนที่รู้มากกว่าคือคนที่เก่งกว่า มันกลายเป็นความกดดันที่เราต้องพยายามรู้ทุกเรื่อง ทำให้ได้หลายอย่าง … จนไม่มีเวลาและพลังงานเหลือพอที่จะโฟกัสกับสิ่งที่เราควรจะทำให้ได้ดีที่สุด

รู้มากกว่าคือเก่งกว่า vs. รู้ลึกกว่าคือเก่งกว่า … เลือกข้อไหน?

แท้ที่จริงแล้วนี่คือที่มาของคำว่า “ทีม” เพราะการเก่งทุกเรื่องด้วยตัวคนเดียว ทำทุกอย่างด้วยมือสองข้างเป็นไปไม่ได้ ทีมจึงถูกสร้างขึ้นมาด้วยการรวบรวมกลุ่มคนที่มีความสามารถและความสนใจในเรื่องต่างๆที่ส่งเสริมกัน คุณเก่งเรื่องไหน ผมช่วยเสริมจุดนี้ให้

ซุปเปอร์แมนแบบข้ามาคนเดียว vs. เอ็กซ์เมนที่มากันเป็นฝูง … เลือกดูเรื่องไหน? 📺 🦸🏻‍♂️🥷🏻🥷🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *