✍🏼 โซลูชั่น “เดียว” ของผม

และเราก็จะคาดเดาได้อย่างแม่นยำในทันทีที่ได้ยินประโยคที่ว่า

“ผมมองหาโซลูชั่นสำหรับทีมงานทั้ง 100 ทีมของผม” 🏢

หรือ

“ผมต้องการระบบที่ใช้ได้กับกับโรงงาน 80 แห่งของผม” 🏭

หรือ

“ผมกำลังเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับโรงพยาบาลทั้งหมดในเครืออยู่” 🏥

เราคาดเดาได้ว่าอะไร? … ทีมเหล่านี้ โรงงานเหล่านั้นและโรงพยาบาลเหล่านู้นจะไม่มีวันได้ใช้โซลูชั่นหรือระบบหรือซอฟต์แวร์ใหม่

ไม่มีแนวคิดไหนจะผิดพลาดเท่านี้อีกแล้ว … ระบบใหม่ที่เหมาะสมกับทั้งองค์กรตั้งแต่วันแรก

เสียใจด้วยเพราะระบบที่ว่านั้นไม่มีอยู่จริง (เอสเอพีหรือเซลสฟอสยังต้องคัสตอมไม๊ส์กันกระจาย)

  • เราไม่มีทางรู้ว่ากระบวนการทำงานที่แท้จริงอย่างละเอียดของเราเป็นอย่างไร
  • เราไม่มีทางรู้ว่าเราต้องการอะไรแบบครบถ้วน
  • เราไม่มีทางรู้ว่าโซลูชั่นเหล่านั้นทำอะไรได้บ้าง
  • เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดปัญหาอะไรบ้างเมื่อเริ่มใช้
  • เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่ากระบวนการทำงานของเราจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังเริ่มต้นใช้งาน
  • เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าโซลูชั่นนี้จะดีจริงอย่างที่โฆษณาหรือไม่

สิ่งที่เรารู้จากรายงานและจากห้องประชุมเป็นเพียงข้อมูลไม่ถึงครึ่งนึงของเรื่องราวทั้งหมด พูดง่ายๆว่าเรากำลังจะลงทุนครั้งใหญ่แบบคนครึ่งหลับครึ่งตื่น 😴😪🥱

ไม่เพียงเท่านั้น … เมื่อความกดดันคืบคลานเข้ามาบีบบังคับให้เราต้องเลือก เราก็ต้องเลือกด้วยข้อจำกัดมากมาย ลงท้ายด้วยประโยคที่ว่า “ระบบนี้แหละใกล้เคียงที่สุดที่จะหาได้ตอนนี้แล้ว”

ความจริงอันเจ็บปวดจะปรากฎเมื่อตอนใช้จริง เราจะพบว่ามันไม่เวิร์ค ไม่เวิร์คเลยซักนิดเดียว ไม่ตรงความต้องการ ใช้งานยากเกินไป ไม่ใช่ตัวช่วยกลับกลายเป็นภาระ

เดาได้เลยว่าผ่านไปไม่นานจะไม่มีใครใช้ระบบใหม่นี้เพราะมันไม่ดีเหมือนที่ป่าวประกาศไว้ตอนนู้น การลงทุนเสียเปล่าทั้งแรงทั้งเงินทั้งเวลา ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือเราจะเข็ด เข็ดกับการเปลี่ยนแปลง เข็ดกับเทคโนโลยี …

“ระบบคลังสินค้าแบบใหม่นี่ไม่ดีเลย อย่าใช้นะ”

หรือ

“ระบบคอลล์เซ็นเตอร์แบบใหม่นี้ห่วยแตกมาก วันหลังอย่าเสนอของบประมาณมาให้อนุมัติอีกนะ”

จากโอกาสพัฒนาในเชิงบวกกลับกลายเป็นผลลัพธ์ที่ติดลบ กลายเป็นกลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวเทคโนโลยี … มันทำให้เราไม่กล้าลงทุนไปอีกหลายปี มันทำให้เราชักช้าและล้าหลังกว่าคู่แข่ง เสียหายหลายแสน


กลับกลายเป็นว่ายิ่งเราคิดใหญ่เราต้องเริ่มทำเล็ก กลับกลายเป็นว่ายิ่งสำคัญเราต้องยิ่งอดทน กลับกลายเป็นว่ายิ่งซับซ้อนเราต้องยิ่งทำให้ง่าย

เราต้องเริ่มจากจุดที่เล็กที่สุดด้วยระบบที่ง่ายและตรงไปตรงมามากที่สุด ด้วยการลงทุนที่น้อยที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด

การเลือกที่จะเริ่มต้นด้วยคนกลุ่มเล็กคือสิ่งที่ถูกต้อง การเริ่มต้นด้วยโครงการนำร่องคือเรื่องที่จำเป็นต้องทำ ทำเพื่อเก็บข้อมูล ทำเพื่อเข้าใจปัญหาที่แท้จริง ทำเพื่อมองหาแนวทางการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำเพื่อการวางแผนการขยายสโคปอย่างรอบคอบที่สุด

กับทีมเหล่านี้ โรงงานเหล่านั้น และโรงพยาบาลเหล่านู้น แนวคิดที่พวกเค้าต้องการคือ “ผมมองหาตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับหนึ่งทีม (หนึ่งโรงงาน หนึ่งโรงพยาบาล) นี้ของผมอยู่ครับ ถ้ามันไปได้สวย ผมมีแผนจะขยับขยายไปที่สามทีม (สามโรงงาน สามโรงพยาบาล) ภายในหกเดือนข้างหน้า”

พวกเค้าถึงจะมีหวัง พวกเค้าถึงจะมีโอกาสได้ทดลองของใหม่ที่น่าจะดีกว่าของเดิม และพวกเรา (บริษัทซอฟต์แวร์เล็กๆ) ถึงจะเริ่มรู้สึกตื่นเต้นไปกับการได้มีส่วนร่วมกับโปรเจกต์เล็กๆที่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่แบบนี้

ป.ล. ถ้าเลี่ยงโปรเจกต์ใหญ่เกินตัวของลูกค้าที่ใหญ่เกินไปได้ก็ขอให้เลี่ยงครับ ผมผ่านประสบการณ์แบบนี้มาระยะนึงแล้วพบว่ามันไม่สนุกไม่สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานเลยสักนิด น่าเบื่อ ยืดยาด และไม่เห็นทางที่มันจะสำเร็จอย่างสวยงามได้เลย 👌🏼😌

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *